ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)

 

ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่โครงการแรกในประเทศไทยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายบรรเทาปัญหาการจราจรที่คับคั่งในกรุงเทพมหานคร ลักษณะโครงการเป็น BTO (Build Transfer and Operate) คือบริษัท (เดิมคือ BECL) เป็นผู้ลงทุนในการออกแบบก่อสร้างและบริหารทางพิเศษศรีรัช ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างถาวรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือใช้ประโยชน์ในทางพิเศษศรีรัชจะตกเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยบริษัทมีสิทธิได้รับรายได้ค่าผ่านทางตามที่กำหนดในสัญญา ซึ่งได้มีการลงนามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อขยายระยะเวลาสัมปทานออกไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2578 ทางพิเศษศรีรัชประกอบด้วย ทางพิเศษ 3 ส่วน มีระยะทางรวม 38.5 กิโลเมตร ดังนี้
 

ส่วนเอบี   สายทางจากถนนรัชดาภิเษกมุ่งหน้าทิศใต้ผ่านต่างระดับพญาไท ไปทางทิศตะวันออกถึงถนนพระราม 9 และจากต่างระดับพญาไทไปทางทิศใต้ถึงต่างระดับบางโคล่ เป็นสายทางที่ก่อให้เกิดพื้นที่วงแหวนใจกลางเมือง ช่วยแบ่งเบาปัญหาการจราจรบริเวณ สาทร สีลม สุรวงศ์ และหัวลำโพง ซึ่งเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี

ส่วนซี     สายทางนอกเขตเมืองต่อจากพื้นที่ส่วนเอบีจากถนนรัชดาภิเษกบริเวณประชาชื่นมุ่งหน้าทางทิศเหนือถึงถนนแจ้งวัฒนะ โดยเชื่อมต่อทางพิเศษอุดรรัถยาเพื่อไปบางปะอิน จ.อยุธยา พื้นที่ส่วนนี้จะช่วยระบายรถจากในเมืองและนอกเมืองได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนดี     สายทางจากถนนพระราม 9 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกถึงถนนศรีนครินทร์ ทางพิเศษส่วนนี้ได้เชื่อมต่อกับทางยกระดับจตุรทิศขาออก เพื่อเดินทางต่อเนื่องไปถนนกรุงเทพ-ชลบุรี  (มอเตอร์เวย์) ทำให้สามารถเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิและทางภาคตะวันออกได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ที่บริเวณถนนพระราม 9 ทำให้สามารถเดินทางไปถนนรามอินทรา ถนนพัฒนาการ ถนนสุขุมวิทได้สะดวก

ทางพิเศษศรีรัช
(ทางด่วนขั้นที่ 2)
ระยะทาง
(กม.)
วันที่เปิดบริการ รายได้ การแบ่งรายได้ บริษัท : กทพ.
พื้นที่ส่วนเอบี
(พระราม 9 - รัชดาภิเษก)
(พญาไท - บางโคล่)
 
12.4
9.4
2 ก.ย. 2536
6 ต.ค. 2539
บริษัท และ กทพ. 40 : 60
พื้นที่ส่วนซี
(รัชดาภิเษก - แจ้งวัฒนะ)
8.0 2 ก.ย. 2536 บริษัท 100 : 0
พื้นที่ส่วนดี
(พระราม 9 - ศรีนครินทร์)
8.7 ระยะที่หนึ่ง
2 ธ.ค. 2541
ระยะที่สอง
1 มี.ค. 2543
บริษัท 100 : 0
รวม 38.5      

ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช (CCB2) โทร 0-2664-6400
 

การบริการบนทางพิเศษ

BEM จัดให้มีศูนย์ควบคุมระบบทางพิเศษ โดยมีพนักงานสื่อสารทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ในการประสานงานกับหน่วยกู้ภัยฉุกเฉิน ตลอดจนประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานบนทางพิเศษและถนนด้านล่างเพื่อ คอยให้บริการแก่ผู้ใช้ทางตลอด 24 ชม.